10 อันดับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิตอลในปี 2020

ในช่วงทศวรรตที่ผ่านมา โลกเราได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากขึ้น ทำให้การดำรงชีวิตของเราสะดวกขึ้น ดั้งนั้นเราจึงควรศึกษาและติดตามในเรื่องแนวโน้มการแปลงด้านดิจิตอลที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้า ไม่ว่าจะเป็น Cloud, Edge Compute, IoT และ AI โดยในปี 2020 นั้นจะเริ่มแตกต่างออกไปจากปีก่อนมาก ในขณะที่เทคโนโลยีหลักต่างๆ ได้มีการกล่าวถึงว่าจะยังคงเป็นรากฐานไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบดิจิตอลแบบโดยรวม ซึ่งในปี 2020 ที่จะถูกกำหนดโดยเทคโนโลยีหน้าใหม่ ท่ามกลางเทคโนโลยี 5G, AI และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือ 10 เทคโนโลยีที่เชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงโลกดิจิตอลที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2020
1.เทคโนโลยี 5G ปี 2019 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทดลองใช้เทคโนโลยี 5G ในประเทศมหาอำนาจด้านเทคโนโลยี และเศรษฐษกิจของโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน, สหรัฐ, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น รวมถึงบางประเทศในแถบยุโรป กับแบรนด์ใหญ่ต่างๆทางด้านโทรคมนาคมเช่น Qualcomm, AT&T, Verizon, Nokia, Ericsson และ Huawei แต่ที่น่าจับตามองคือ ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป เทคโนโลยี “5G” จะแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะขยายไปสู่การใช้งานในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป และตอนนี้และผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ Android ที่ดีที่สุดในโลกได้มีการปล่อยโทรศัพท์ที่รองรับเทคโนโลยี 5G แล้ว
- eSIM จะมีการใช้อย่างแพร่หลาย ในปี 2020 เทคโนโลยี eSIM จะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสัมผัสได้ในชีวิตประจำวันโดยมาในรูปแบบของของใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมาพร้อมกับเทคโนโลยี IoT และ 5G ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า eSIM จะมีการใช้อย่างแพร่หลายในปี 2020 จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคโดยสิ้นเชิง ทำให้ได้รับความสะดวกสบายและสามารถจัดเก็บข้อมูลการใช้งานจริง
- นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น กระแสประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นมากกว่าการสร้างจิตสำนึก เพราะเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น IoT, Big Data และ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อลดการใช้ปริมาณทรัพยากร ถือเป็นส่วนหนึ่งของการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- พัฒนาเทคโนโลยีด้วยเทคโนโลยี จากความต้องการและคาดหวังประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นของ AI แต่ผู้พัฒนา AI มี ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น ในปี 2020 จะได้เห็นการพัฒนาแพลตฟอร์ม Machine learning ที่สามารถสร้าง AI ได้ตามความต้องการ ทำให้องค์กรธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปสามารถพัฒนา AI ใช้งานได้เอง เรียกได้ว่าเป็นการนำเทคโนโลยีสร้างเทคโนโลยีต่อไปอีกทอดหนึ่ง
- ยุคที่ร่างกายจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตกว่าที่เคย ในปี 2020 ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะได้สัมผัสเทคโนโลยี IoT มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพและการแพทย์ โดยจะถูกผนวกเข้าไปอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายได้อย่างเรียลไทม์เช่น ความดันเลือด ปริมาณออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ ตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาระดับอินซูลินในเลือด หลังจากที่เทคโนโลยี IoT ส่วนมากจะได้รับการพูดถึงในวงจำกัดอย่าง อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ภาคการผลิต และเกษตรกรรม
- Dirty Data รูปแบบใหม่ของข่าวปลอม ไม่เพียง fake news หรือข่าวปลอมที่เป็นภัยบนโลกออนไลน์ แต่ยังรวมไปถึง Dirty Data ซึ่งคือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และจะปะปนรวมอยู่ในฐานข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้การประมวลผลข้อมูลผิดพลาดตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลต่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ผ่าน AI หรือ machine learning ทำให้การทำงานผิดพลาด
7.ความน่าเชื่อถือ คือสิ่งที่ถูกยกระดับความสำคัญ: ความน่าเชื่อถือ เรียกได้ว่าเป็นตัวกลางของการใช้บริการทางออนไลน์ แต่จากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะมีข่าวคราวที่บริษัทผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียนำข้อมูลของผู้ใช้บริการออกสู่ระบบไปยัง third party เช่น บริษัทโฆษณา ทำให้ความเชื่อใจของผู้ใช้บริการต่อผู้ให้บริการลดลง
- ปีที่สงครามของ Streaming TVจะปะทุขึ้น หลังจากที่ Netflix ประสบความสำเร็จและได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบความบันเทิงของผู้บริโภคไปโดยสิ้นเชิง ผ่านรูปแบบ Streamingทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์และเจ้าของแพลตฟอร์มรายอื่นอย่าง AppleTV+ และ Disney+ ขอเข้ามาร่วมหารส่วนแบ่งในตลาดในธุรกิจ สตรีมมิ่ง นี้มากขึ้น ดังนั้น ในปี 2020 วงการสตรีมมิ่งจะระอุ ดุเดือด มากขึ้น เพราะจะมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้นแน่นอน
- กฏใหม่ควบคุม Big Tech ปี 2020 Big Tech จะถูกควบคุมด้วยกฎเกณฑ์ใหม่ๆ มากขึ้น ประเด็นการจัดเก็บภาษี ข้อมูลส่วนบุคคล ความมั่นคง ตลอดจนข้อห้ามที่เกี่ยวกับการโฆษณาเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง หลังจากเหตุการณ์ต่างๆในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้คนในสังคมตั้งคำถามถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากบริการของบิ๊กเทคเหล่านี้
- กิจกรรมของคนทั่วโลก 40% จะถูกติดตามได้จาก IoB IoB หรือ Internet of Behavior เป็นโครงข่ายที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลในโลกดิจิทัลซึ่งปัจจุบันเราก็พอเห็นภาพแล้วว่าข้อมูลจากอุปกรณ์ดิจิทัลหรือ IoT สามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมของเราได้มากแค่ไหนดูได้จากโฆษนาต่างๆ แอพชอปปิ้งทั้งหลาย ทั้งนี้ข้อมูลพฤติกรรมเหล่านั้นของเราอาจถูกใช้เพื่อวัดคุณค่าในการให้บริการ เช่น เบี้ยประกันหรือการรับบริการจากประกันสังคม เป็นต้น แต่มีประเด็นคือจริยธรรมในการใช้ข้อมูลจะเป็นอย่างไรต่อไป?